29 เมษายน 2554

บทที่1 อักขระภาษาบาลีที่ควรรู้จัก

สวัสดีครับ...  แหม๋ก็ตั้งแต่ทำบล็อกไว้ยังไม่ได้เริ่มเขียนเป็นจริงเป็นจังสักที  วันนี้ก็จะเริ่มต้นซะเลย  อันดับแรกอนุบาลกันก่อน  ก็จะมาเรียนรู้เกี่ยวกับอักขระภาษาบาลีกันนะ  อักขระก็คือ "อักษร" นั่นเอง
ตามภาษาไทยที่พวกเรารู้จัก  ซึ่งก็มีอยู่  2  ประเภท  ก็คือ  สระ  และ  พยัญชนะ  แล้วมีอะไรบ้างก็ตามนี้เลยครับพี่น้อง

สระ  ในภาษาบาลีมีเพียง  ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ

สระที่มีเสียงสั้น  ในภาษาบาลีมี  ตัว  คือ  อะ  อิ  อุ  เรียกว่า  รัสสสระ

สระที่มีเสียงยาว  มี  5  ตัว  คือ  อา  อี  อู  เอ  โอ  เรียกว่า  ทีฆสระ

ส่วนพยัญชนะในภาษาบาลีมี  33  ตัว  นะครับ  โดยแยกออกเป็นวรรคหรือตอน  5  วรรค  ดังนี้

ก  วรรค  ได้แก่  ก  ข  ค  ฆ  ง
จ  วรรค  ได้แก่  จ  ฉ  ช  ฌ  ญ
ฏ  วรรค  ได้แก่  ฏ  ฐ  ฑ  ฌ  ณ
ต  วรรค  ได้แก่  ต  ถ  ท  ธ  น
ป  วรรค  ได้แก่  ป  ผ  พ  ภ  ม

และมีพิเศษอีก  คือ  ย  ร  ล  ว  ส  ห  ฬ  อํ  (นิคคหิต)

เคยงงไหมกับภาษาบาลีที่เขียนว่า  อะระหัง  หรือ  อรหํ  แบบนี้  นั่นแหละครับ  ตัวที่อยู่บน    นั่นแหละคือ  นิคคหิต  แปลว่า  กดสระ  หรือ  กรณ์  ซึ่งเวลาพูดต้องออกเสียงเปิดปากกว้างมากกว่าปกตินะครับ  ลองสังเกตตัวเองตอนที่สวดมนต์ไหว้พระกันก็ได้  เช่น  อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ฯลฯ  เป็นต้น

ในเบื้องต้นก็อยากให้จดจำเกี่ยวกับสระและพยัญชนะที่ใช้ในภาษาบาลีให้ได้ก่อนนะครับ  บทต่อไปจะมาพูดเกี่ยวกับการออกเสียงสระและพยัญชนะให้ฟังต่อไปนะครับ  ตอนนี้ขอทำงานก่อน


อ้างอิงจากหนังสือเรียนบาลี "คู่มือเตรียมสอบบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2" ซึ่งใช้สำหรับท่องจำและดูก่อนสอบ  แต่งโดยท่านญาณรัตน์ ชัชรัตน์  นะครับ  ใครอยากมีไว้อ่านและท่องก็มีตัวอย่างหนังสือให้ดู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

บทความทั้งหมด