8 กันยายน 2554

สนธิ

สนธิ

วิธีต่อศัพท์และอักขระให้เนื่องกันด้วยอักขระ เพื่อจะย่ออักขระให้น้อยลง เป็นอุปการะในการแต่งฉันท์ และทำคำพูดให้สละสลวย  เรียกว่า สนธิ
การต่อมี 2 อย่าง คือ
  1. ต่อศัพท์ที่มีวิภัตติให้เนื่องด้วยศัพท์ที่มีวิภัตติ  เช่น   จตฺตาโร–อิเม  ต่อเป็น จตฺตาโรเม
  2. ต่อบทสมาสย่ออักขระให้น้อยลง  เช่น  กต–อุปกาโร  ต่อเป็น  กโตปกาโร
การต่ออักขระด้วยอักขระนั้น จัดเป็น 3  ตามความที่เป็นประธาน  คือ
  1. สรสนธิ    ต่อสระ
  2. พยัญชนสนธิ    ต่อพยัญชนะ
  3. นิคคหิตสนธิ    ต่อนิคคหิต
สนธิกิริโยปกรณ์ คือ วิธีเป็นอุปการะแก่การทำสนธิ   มี 8 อย่าง ได้แก่
  1. โลโป  ลบ
  2. อาเทโส  แปลง
  3. อาคโม  ลงตัวอักษรใหม่
  4. วิกาโร  ทำให้ผิดจากของเดิม
  5. ปกติ  ปกติ
  6. ทีโฆ  ทำให้ยาว
  7. รสฺสํ  ทำให้สั้น
  8. สฺโโค  ซ้อนตัว


สมัญญาภิธาน พยัญชนะ

สมัญญาภิธาน

1. อักขระ เสียงก็ดี ตัวหนังสือก็ดี ชื่อว่า อักขระ     อักขระ แปลว่า  ไม่รู้จักสิ้น และไม่เป็นของแข็ง

อักขระในภาษาบาลีมี 41 ตัว
 แบ่งเป็นสระ 8 ตัว คือ  อ   อา   อิ   อี   อุ   อู   เอ   โอ
 แบ่งเป็นพยัญชนะ 33 ตัว  คือ
กฺ    ขฺ    คฺ    ฆฺ    งฺ
จฺ    ฉฺ    ชฺ    ฌฺ    ญฺ
ฏฺ    ฐฺ    ฑฺ    ฒฺ    ณฺ
ตฺ    ถฺ    ทฺ    ธฺ    นฺ
ปฺ    ผฺ    พฺ    ภฺ    มฺ
ยฺ    รฺ    ลฺ    วฺ    สฺ    หฺ    ฬฺ    _ํ



อักขรวิธี วจีวิภาค ภาคที่ 1 บาลีไวยากรณ์

บาลีไวยากรณ์ แบ่งเป็น 4 ภาค คือ  อักขรวิธี  วจีวิภาค  วากยสัมพันธ์  ฉันทลักษณ์
  1. อักขรวิธี  ว่าด้วยอักษร จัดเป็น 2 คือ
    1. สมัญญาภิธาน แสดงชื่ออักษรที่เป็นสระ และพยัญชนะ  พร้อมทั้งฐานกรณ์   
    2. สนธิ ต่ออักษรที่อยู่ในคำอื่นให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน
  2. วจีวิภาค  แบ่งคำพูดออกเป็น 6 ส่วน คือ นาม อัพยยศัพท์  สมาส ตัทธิต   อาขยาต กิตก์
  3. วากยสัมพันธ์ ว่าด้วย การก และ ประพันธ์ผูกคำพูดที่แบ่งไว้ในวจีวิภาค ให้เข้าเป็นประโยคอันเดียวกัน
  4. ฉันทลักษณ์  แสดงวิธีแต่งฉันท์ คือคาถาที่เป็นวรรณพฤทธิ์และมาตราพฤทธิ์
อยากดูเพิ่มเติมที่นี่ครับ http://www.palidict.com/
ฟังเสียงบรรยายโดย http://www.พุทธะ.com/

29 เมษายน 2554

บทที่1 อักขระภาษาบาลีที่ควรรู้จัก

สวัสดีครับ...  แหม๋ก็ตั้งแต่ทำบล็อกไว้ยังไม่ได้เริ่มเขียนเป็นจริงเป็นจังสักที  วันนี้ก็จะเริ่มต้นซะเลย  อันดับแรกอนุบาลกันก่อน  ก็จะมาเรียนรู้เกี่ยวกับอักขระภาษาบาลีกันนะ  อักขระก็คือ "อักษร" นั่นเอง
ตามภาษาไทยที่พวกเรารู้จัก  ซึ่งก็มีอยู่  2  ประเภท  ก็คือ  สระ  และ  พยัญชนะ  แล้วมีอะไรบ้างก็ตามนี้เลยครับพี่น้อง

สระ  ในภาษาบาลีมีเพียง  ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ

สระที่มีเสียงสั้น  ในภาษาบาลีมี  ตัว  คือ  อะ  อิ  อุ  เรียกว่า  รัสสสระ

สระที่มีเสียงยาว  มี  5  ตัว  คือ  อา  อี  อู  เอ  โอ  เรียกว่า  ทีฆสระ

ส่วนพยัญชนะในภาษาบาลีมี  33  ตัว  นะครับ  โดยแยกออกเป็นวรรคหรือตอน  5  วรรค  ดังนี้

ก  วรรค  ได้แก่  ก  ข  ค  ฆ  ง
จ  วรรค  ได้แก่  จ  ฉ  ช  ฌ  ญ
ฏ  วรรค  ได้แก่  ฏ  ฐ  ฑ  ฌ  ณ
ต  วรรค  ได้แก่  ต  ถ  ท  ธ  น
ป  วรรค  ได้แก่  ป  ผ  พ  ภ  ม

และมีพิเศษอีก  คือ  ย  ร  ล  ว  ส  ห  ฬ  อํ  (นิคคหิต)

เคยงงไหมกับภาษาบาลีที่เขียนว่า  อะระหัง  หรือ  อรหํ  แบบนี้  นั่นแหละครับ  ตัวที่อยู่บน    นั่นแหละคือ  นิคคหิต  แปลว่า  กดสระ  หรือ  กรณ์  ซึ่งเวลาพูดต้องออกเสียงเปิดปากกว้างมากกว่าปกตินะครับ  ลองสังเกตตัวเองตอนที่สวดมนต์ไหว้พระกันก็ได้  เช่น  อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ฯลฯ  เป็นต้น

ในเบื้องต้นก็อยากให้จดจำเกี่ยวกับสระและพยัญชนะที่ใช้ในภาษาบาลีให้ได้ก่อนนะครับ  บทต่อไปจะมาพูดเกี่ยวกับการออกเสียงสระและพยัญชนะให้ฟังต่อไปนะครับ  ตอนนี้ขอทำงานก่อน


อ้างอิงจากหนังสือเรียนบาลี "คู่มือเตรียมสอบบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2" ซึ่งใช้สำหรับท่องจำและดูก่อนสอบ  แต่งโดยท่านญาณรัตน์ ชัชรัตน์  นะครับ  ใครอยากมีไว้อ่านและท่องก็มีตัวอย่างหนังสือให้ดู

20 เมษายน 2554

แนะนำหนังสือบาลีและคู่มือที่ควรมีกันก่อนนะ

เข้าดูคู่มือเรียนบาลีและหนังสือได้ที่นี่ http://www.lc2u.org/th/product.php?CatID=2 เป็นเว็บที่มีหนังสือเรียนด้านพระพุทธศาสนาให้คุณเลือกอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียนนักธรรมและธรรมศึกษา หนังสือบาลี หนังสือสวดมนต์ คู่มืออุบาสกอุบาสิกา หนังสือธรรมะสีสวยงาม มีภาพการ์ตูนสี่สีประกอบทั้งเล่มให้เลือกอย่างมากมาย ลองเข้าไปดูนะครับ ตามนี้เลย http://www.lc2u.org/th/product.php?CatID=2

ภาษาบาลีมีความสำคัญกับวัฒนธรรมไทยอย่างไร ?

นับจากอดีตจนถึงปัจจุบันคนไทยเราตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย จะมีความใกล้ชิดกับวัดวาอารามหรือพระพุทธศาสนาอย่างถึงแก่นแท้ยิ่ง  ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่คนโบราณนิยมเช่น บุตร หลานที่เกิดมาใหม่ จะนิยมไปขอให้พระสงฆ์ช่วยตั้งชื่อที่เป็นสิริมงคลให้ จะขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน หรือพิธีกรรมต่างๆ ต่างๆ ก็ต้องมาให้พระสงฆ์ช่วยหาดูฤกษ์งามให้ทั้งนั้น แม้แต่ภาษาไทยในปัจจุบันก็เป็นการผันภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้อยู่อย่างแพร่หลาย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ภาษาบาลีเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญกับวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างยิ่งอย่างขาดเสียมิได้

บทความทั้งหมด